วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

หลักการผันเสียงวรรณยุกต์

หลักการผันเสียงวรรณยุกต์ 

คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลาง ผันเสียงวรรณยุกต์ได้ดังนี้

        1. คำเป็น ผันวรรณยุกต์ได้ครบ 4 รูป 5 เสียง รูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น อา อ่า อ้า อ๊า อ๋า พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงเอก ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้ตรีเป็นเสียงตรี และผันด้วยไม้จัตวาเป็นเสียงจัตวา
        2. คำตาย ผันวรรณยุกต์ได้ 3 รูป 4 เสียง เริ่มด้วยเสียงเอก เช่น อะ อ้ะ อ๊ะ อ๋ะ คำ “อะ” เสียงเอกไม่มีรูปวรรณยุกต์

คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูง ผันเสียงวรรณยุกต์ได้ดังนี้

        1. คำเป็น ผันวรรณยุกต์ได้ 2 รูป 3 เสียง ขัน ขั่น ขั้น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงเอก ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงโท
        2. คำตาย ผันวรรณยุกต์ได้ 1 รูป 2 เสียง ขะ ข้ะ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงโท

คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ ผันเสียงวรรณยุกต์ได้ดังนี้

        1. คำเป็น ผันวรรณยุกต์ได้ 2 รูป 3 เสียง คาน ค่าน ค้าน พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงโท ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงตรี
        2. คำตาย สระเสียงยาว ผันได้ 2 รูป 3 เสียง คาด ค้าด ค๋าด พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงตรี ผันด้วยไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวา
        3. คำตาย สระเสียงสั้น ผันได้ 2 รูป 3 เสียง คะ ค่ะ ค๋ะ พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยไม้เอกเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้จัตวาเป็นเสียงจัตวา
        4. อักษรคู่ ถ้าผันเสียงคู่กับอักษรสูงจะสามารถผันได้ครบ 5 เสียง เช่น คา ข่า ค่า-ข้า ค้า ขา
        5. อักษรเดี่ยว เมื่อมี “ห” หรืออักษรสูง หรืออักษรกลางมานำจะผันเสียงได้ตามอักษรที่นำ เช่น หนา หน่า หน้า หรือคำว่า “ตลาด” จะอ่านว่า “ตะ-หลาด” ไม่ใช่ “ตะ-ลาด” เป็นต้น


                     มาดูวิดีโอเพิ่มเติมเพื่อฝึกฝนการผันวรรณยุกต์กันนะคะ




คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์

ความหมาย
            ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์  ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ได้แก่  พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์  พระภิกษุ  ขุนนางข้าราชการ และสุภาพชน

ที่มาของราชาศัพท์
            .รับมาจากภาษาอื่น
                        ภาษาเขมร เช่น เสวย  เขนย เสด็จ โปรด ฯลฯ
                        ภาษาบาลี สันสกฤต  เช่นเนตร หัตถ์ โอรส อาพาธ  ฯลฯ
            .การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ตั้งเครื่อง ลูกหลวง
ซับพระพักตร์  ฯลฯ
วิธีใช้ราชาศัพท์ที่ควรสังเกต
            .การใช้ ทรง” มีหลัก ๓ ประการ
                        .๑นำหน้าคำกริยาสามัญทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น
ทรงเจิม  ทรงออกกำลังกาย ทรงใช้ ทรงวิ่ง เป็นต้น
                        .๒นำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น
ทรงดนตรี  ทรงช้าง ทรงเครื่อง  ทรงรถ เป็นต้น
                        .๓นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้  เช่น
ทรงพระอักษร  ทรงพระดำเนิน ทรงพระราชนิพนธ์  ทรงพระราชดำริ เป็นต้น
            คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ ทรง” นำหน้า เช่น เสด็จ เสวย โปรด  เป็นต้น
            .การใช้คำ พระบรม”   “พระราช”  “พระ
                        .๑ คำ พระบรมใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราชานุเคราะห์ พระปรมาภิไธย พระบรมราโชวาท ฯลฯ
                        .๒ พระราช” ใช้นำหน้าคำนาม แสดงว่าคำนามนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์  สมเด็จพระบรมราชินี  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  เช่นพระราชานุญาต พระราชวโรกาส พระราชประวัติ  ฯลฯ
                        .๓ คำ พระ” ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นอวัยวะ ของใช้ เช่น
พระนลาฏ  พระชานุ  พระขนง  ฯลฯ
            .การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย ไม่นิยมเลียนแบบสำนวนต่างประเทศ ได้แก่
                        .๑ถ้ามาต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้ว่า ประชาชนมาเฝ้า ฯ รับเสด็จ   คำว่าเฝ้าฯรับเสด็จ” ย่อมาจากเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จไม่ใช้คำว่าถวายการต้อนรับ
                        .๒คำว่าคนไทยมีความจงรักภักดี” หรือแสดงความจงรักภักดี” ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช่คำว่า ถวายความจงรักภักดี
            .การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล
                        .๑คำว่า อาคันตุกะ” “ราชอาคันตุกะ” และพระราชอาคันตุกะ” ใช้ดังนี้ คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ     เช่นแขกของพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า
ราชนำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ต้องมีราชนำหน้า
                        .๒ในการถวายสิ่งของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                    ถ้าเป็นของเล็กยกได้ก็ใช้ ทูลเกล้าฯ ถวาย
                                    ถ้าเป็นของใหญ่ยกไม่ได้ใช้ น้อมเกล้า ฯ ถวาย

                                                          มาดูวิดีโอเพิ่มเติมกันนะคะ

อักษรนำ

อักษรนำ คืออะไร
           อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวเรียงกัน ประสมสระเดียว พยัญชนะตัวแรกของคำ จะอ่านออกเสียง อะ กิ่งเสียง พยัญชนะตัวหลังจะอ่านออกเสียงตามสระที่ประสม และอ่านออเสียงวรรณยุกตติดตามามพยัญชนะตัวแรก
เช่น
ขยับ    ขะ - หยับ                       จมูก    จะ - หมูก

ฉลาม ฉะ - หลาม                      ตลาด  ตะ - หลาด

อย่า อยู่ อย่าง อยาก
          หง-หญ-หน-หม-หย-หร-หล-หว เป็นพยัญชนะสองตัวเรียงกัน เรียกว่า อักษรนำ ตัว ห เป็นอักษรนำ ไม่อ่านออกเสียง แต่อ่านออกเสียงอักษรตัวหลังตามอักษรนำ
คำที่มี ห นำ ง
         บุหงา เหงาหงอย รากเหง้า แหงนหน้า เจ็บเหงือก หงุดหงิด สัปหงก เดือนหงาย
กลัวหงอ หง่างเหง่ง หงอนไก่ ใบหงิก หงุงหงิง หงึกหงึก หงิมหงิม เหงื่อไหล รากเหง้า ผมหงอก หงุบหงับ เมาหงำ แก่หง่อม
บทร้อยกรอง 
บุหงาคราเดือนหงาย เหงาหงอยคล้ายกับกลัวหงอ
หงอนไก่ใบหงิกงอ คนเจ็บเหงือกหงุดหงิดเหงา
หง่างเหง่งวังเวงแว่ว แหงนหน้าแล้วไยซึมเศร้า
ผมหงอกหลอกลวงเรา ทั้งรากเหง้าเน่าเสียหาย
เมาหงำทำหงุบหงับ หงุงหงิงกลับฟังง่ายง่าย
หงิมหงิมยิ้มอายอาย คนแก่หง่อมย่อมเสียใจ

คำที่มี ห นำ ญ
ผู้หญิง ยิ่งใหญ่ ใบหญ้า
บทร้อยกรอง

ผู้หญิงผู้ยิ่งใหญ่ คุณย่าไปเกี่ยวหญ้ามา
ดูไว้ให้ชินตา ห นำ ญ อ่านเป็นหญอ



คำที่มี ห นำ น
เสื้อหนา น้อยหน่า ใบหน้า เบื่อหน่าย เหน็ดเหนื่อย หน้าหนาว มีหนวด ใครหนอ ริมหนอง มีหนาม ใบหนาด หนักหน่วง เป็นเหน็บ ตัวหนอน หูหนวก ดูหนัง ทิศเหนือ
ไปไหน ไล่หนี เป็นหนี้ นิดหน่อย อิ่มหนำ กระหน่ำ เป็นหนุ่ม หนูหนุ่ย อุดหนุน ดินเหนียว

บทร้อยกรอง
บุญหนา น้อยหน่า ใบหน้านิดหน่อย
ใครหนอ หนูน้อย ดูหนัง ริมหนอง
เหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่าย หนาวตายหนิงหน่อง
มีหนามหนักน้อง ไปไหนไล่หนี
หูหนวกเป็นเหน็บ หนุ่มเจ็บหนักหน่วง
หนวดเครา หลุดร่วง ดินเหนียวตระหนี่
หนูหนุ่ยอุดหนุน ทิศเหนือเชื่อซี
ใบหนาดใช้หนี้ กระหน่ำหนำใจ

คำทีมี ห นำ ม
          ห่อหมก เงินหมด หม่นหมอง สวมหมวก ตีหมา กินหมาก หมวดหมู่ ดูหมอ สมหมาย
เสื้อใหม่ ในหม้อ สายหมอก มีหมอน ใบหม่อน ม้าหมุน นอนหมอบ กำหมัด เป็นหมัน
หมั่นหา ปะหม่า คว้าหมับ หมักหมม แม่หม้าย หลายหมื่น เข็มหมุด น้องหมวย ผ้าไหม ไฟไหม้ แหวนหมั้น
บทร้อยกรอง
ปลาหมออยู่ในหม้อ แม่หม้ายรอสวมเสื้อไหม
ทำงานเสร็จใหม่ใหม่ เห็นไฟไหม้กองไม้หมอน
สวมหมวกในสายหมอก สมหมายบอกขอหมั้นก่อน
หม่นหมองต้องเดือดร้อน อย่าประหม่านั่งม้าหมุน
กำหมัดไล่ตีหมา เงินหมดมานั่งหมกมุ่น
เป็นหมันหมั่นหาทุน เงินสองหมื่นคืนน้องหมวย
รับเหมาหมักหมมอยู่ จัดหมวดหมู่หมอบลงด้วย
คว้าหมับจับกระบวย มีเข็มหมุดหยุดดูหมี


คำที่มี ห นำ ย
ใบหยก น้ำหยด หยิบหย่ง หยิกหยอก ตัดหยวก หมูหยอง หยุดหย่อน สวนหย่อม
วิ่งหยอย หยักศก ขาหยั่ง หยากไย่ ใบหย่า หยาบคาย เหยียดหยาม เย่อหยิ่ง ลูกหยี หยุกหยิก หยุมหยิม หยูกยา หยาดเหงื่อ กระหยิ่ม

บทร้อยกรอง
หยากไย่และใบหย่า กินหยูกยาไม่หยุดหย่อน
หยิกหยอกช่างยอกย้อน เขาเหยียดหยามคนหยุมหยิม
ใบหยกเห็นน้ำหยด ตัดหยวกหมดนั่งกระหยิ่ม
ลูกหยีมีให้ชิม คนเย่อหยิ่งวิ่งหยอยหยอย
ขาหยั่งอย่าหยิบหย่ง สวนหย่อมคงงามใช่ย่อย
หยาบคายร้ายไม่น้อย ไม่หยุดหย่อนกินหมูหยอง

คำที่มี ห นำ ร
บุหรี นี่หรือ หรูหรา จิ้งหรีด หนูหริ่ง สำหรับ ขี้เหร่ สึกหรอ

บทร้อยกรอง
สูบบุหรี่นี่หรือคือหนูหริ่ง
ไพเราะจริงสำหรับเพลงขับขาน
บ้านหรูหราน่าอยู่แต่บูราณ
ยิ่งใช้งานยิ่งสึกหรอห่อเหี่ยวใจ

คำที่มี ห นำ ล
บุญเหลือ เสื้อเหลือง สองโหล ห้าหลา แซ่หลี เกาเหลา หมู่เหล่า มีเหล้า รูปหล่อ หลอกล่อ ลืมหลง พุ่งแหลน ติดหล่ม นอนหลับ ข้าวหลาม งูเหลือม เจ้าหล่อน วิ่งหลบ เสื้อหลวม น้ำไหล หัวไหล่ ทีหลัง หลั่งมา หลากหลาย ตกหลุม ประหลาด ปลาหลด
บทร้อยกรอง
บุญเหลือใส่เสื้อเหลือง เข้าในเมืองซื้อเกาเหลา
รูปหล่อหลอกล่อเรา คนกินเหล้ามีสองโหล
เจ้าหล่อนมีเหล็กไหล หลบหลีกภัยมาที่โหล่
หละหลวมสวมเสื้อโชว์ คนชื่อหลีมาทีหลัง
พุ่งแหลนไปติดหล่ม บุญหลายตรมหลงลืมนั่ง
ไหล่หลุดประหลาดจัง เห็นงูเหลือมกินข้าวหลาม
ฟันหลอลื่นเสียหลัก ตกหลุมรักลูกหลานห้าม
เซหลุนหมุนกลิ้งตาม ทำหลุกหลิกไม่หลาบจำ


คำที่มี ห นำ ว
เสียงหวอ หาวหวอด จังหวะ มีหวัง เป็นหวัด หวาดหวั่น ว้าเหว่ ระหว่าง หวั่นไหว ของหวาน วาบหวาม เส้นหวาย หวุดหวิด หวิวหวิว นกหวีด สองหวี แมลงหวี่ เสียงหวูด
หวือหวา ไถหว่าน ต้นหว้า ไหว้พระ แหวกว่าย
บทร้อยกรอง
หวือหวามือไหวไหว ยกมือไหว้เสียงหวานแหวว
หวั่นหวั่นจะแหวกแนว หาวหวอดหวอดฟังเสียงหวอ
เป็นหวัดอย่าสิ้นหวัง หวั่นใจจังว้าเหว่หนอ
รับไหว้ไม่รีรอ หน้าไถหว่านงานประจำ
จังหวะแมลงหวี่ ต้นหว้านี้ผลสีดำ
หวุดหวิดเขียนผิดคำ เห็นเส้นหวายใจวาบหวาม
ถือหวีมีนกหวีด ระหว่างขีดเขียนคำถาม

เบาหวิวปลิวไปตาม พระจันทร์แหว่งแบ่งครึ่งดวง

มาดูวิดีโอสรุปกันนะคะ


มาตราตัวสะกดในภาษาไทย

มาตราตัวสะกดในภาษาไทย
               มาตราตัวสะกดมีทั้งที่ใช้ตัวสะกดตรงแม่ และมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงแม่ การเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่างๆ ทำให้เขียนและอ่านคำได้ถูกต้อง
              มาตราตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ผสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ในแม่ ก กา ทำให้แม่ ก กา มีตัวสะกด เช่น มี เมื่อประสมกับ ด ลายเป็น มีด เป็นต้น
              มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น มา เสือ ตัว มือ เสีย ดำ ฯลฯ ส่วนมาตราตัวสะกดมีทั้งหมด ๘ แม่ คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน แบ่งได้ดังนี้
                    ๑. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี ๔ มาตรา คือ
                            แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น หาง ปลิง สอง งง แรง ฯลฯ
                            แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ลม แต้ม โสม มุม งอม สนาม ฯลฯ
                            แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น สาย ลอย โปรย เฉย ปุ๋ย ฯลฯ
                            แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น แห้ว กาว เปรี้ยว เปลว ฯลฯ
                    ๒. มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี ๔ มาตรา คือ
                            แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ สะกด เช่น นาน วิญญาณ วานร กาลเวลา พระกาฬ ฯลฯ
                            แม่กก ใช้ ก ข ค ฆ สะกด เช่น ปัก เลข วิหค เมฆ ฯลฯ
                            แม่กด ใช้ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น แปด ตรวจ ก๊าซ บงกช กฎหมาย ปรากฏ อิฐ ครุฑวัฒนา เปรต โอสถ บาท โกรธ กระดาษ รส เลิศ ฯลฯ
                            แม่กบ ใช้ บ ป ภ พ ฟ สะกด เช่น กลับ บาป ลาภ นพรัตน์ กราฟ ฯลฯ







คำพ้องรูปและคำพ้องเสียง

คำพ้องรูปและคำพ้องเสียง
คำพ้อง คือ คำที่เขียนรูปหรือออกเสียงตรงกัน แต่ความหมายต่างกัน  คำพ้อง แบ่งเป็น ๓ ชนิด ดังนี้คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนรูปเดียวกัน แต่มีการสะกดและออกเสียงที่ต่างกัน ซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปอ่านผิดอยู่เสมอๆ และความหมายก็ต่างกันด้วย
คำพ้องรูป
คำอ่าน
ความหมาย
กรี
กฺรี
กระดูกแหลมที่หัวกุ้ง
กะ-รี
ช้าง
กรอด
กฺรอด
เซียวลง ผอม
กะ-หฺรอด
ชื่อนกขนาดเล็ก
เขมา
เข-มา
เกษม สบายใจ ความพ้นภัย
ขะ-เหฺมา
ชื่อโกฐชนิดหนึ่งใช้เป็นเครื่องยาไทยดำ
แขม
แขมฺ
ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง
ขะ-แม
คนเขมร
ครุ
คฺรุ
ภาชนะสานชนิดหนึ่ง ใช้ตักน้ำ รูปกลมๆยาชัน
คะ-รุ
ครูหนัก
ตนุ
ตะ-นุ
ตัว ตนฉัน ข้าพเจ้า
ตะ-หนุ
ชื่อเต่าทะเลชนิดหนึ่ง
ตรุ
ตฺรุ
ที่ขังคน ตะราง เรือนจำนักโทษ คุก
ตะ-รุ
ต้นไม้
ทิว
ทิว
แถวหรือแนวแห่งสิ่งที่ติดเนื่องกันไปยาวยืดธงรูปกระบอก
ทิ-วะ
วัน สวรรค์ ชั้นฟ้า เทวโลก
เทว
เท-วะ
เทวดา
ทะ-เว
สอง
ปถวี
ปะ-ถะ-วี
ดิน
ปะ-ถะ-หฺวี
ท้ายเรือพิธี
ปรัก
ปฺรัก
เงิน
ปะ-หรัก
หัก
ปรามาส
ปฺรา-มาด
ดูถูก
ปะ-รา-มาด
การจับต้อง การลูบคลำ
ปละ
ปะ-ละ
ชื่อมาตราน้ำหนักมคธ 100 ปละเป็น ตุลา
ปฺละ
ปล่อย ละทิ้ง ละเลย
ปักเป้า
ปัก-กะ-เป้า
ชื่อปลาอย่างหนึ่ง
ปัก-เป้า
ชื่อว่าวชนิดหนึ่งมีหางยาว
ปาน
ปานฺ
ผิวเนื้อที่เป็นสีแดงหรือดำที่เกิดเป็นเองตามร่างกายแต่กำเนิด
ปา-นะ
เครื่องดื่ม น้ำสำหรับดื่ม
ผิว
ผิ-วะ
ถ้าว่า หากว่า แม้นว่า
ผิว
ส่วนที่มีลักษณะบางๆ เป็นพื้นหุ้มอยู่ภายนอกสุดของหนังและเปลือก
พยาธิ
พะ-ยา-ทิ
ความเจ็บไข้
พะ-ยาด
ตัวเชื้อโรคจำพวกหนึ่งที่เกิดในกายชื่อโรคอย่างหนึ่งเกิดที่ผิวหนัง
พลี
พะ-ลี
การบวงสรวง เครื่องบวงสรวง ส่วย การบูชา เสียสละมีกำลัง
พฺลี
บวงสรวงเชิญเอามา
เพลา
เพ-ลา
กาล คราว
เพฺลา
แกนสำหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียนไม้สำหรับขึงใบเรือ
มน
มนฺ
กลมๆ โค้งๆ ไม่เป็นเหลี่ยม
มะ-นะ
ใจ
วน
วนฺ
ไปโดยรอบเข้าหาศูนย์กลาง
วะ-นะ
ป่าไม้ ดง
สก
สกฺ
ผมสะเด็ดน้ำ
สะ-กะ
ของตน
สระ
สะ
แอ่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุดชำระ ฟอก
สะ-หฺระ
เสียง เสียงก้องซึ่งออกเสียงได้นานตัวอักษรจำพวกหนึ่งเป็นคนละพวกกับพยัญชนะ
สาน
สานฺ
ทำสิ่ง เช่น เสื่อ ตะกร้า ด้วยมือ โดยวิธีใช้เส้นตอกหรือสิ่งอื่นขัดไขว้กัน
สา-นะ
หมา
สุก
สุกฺ
พ้นจากห่ามปลั่งนกแก้ว นกแขกเต้า
สุก-กะ
ขาว สว่าง สะอาด ดี
เสมา
สะ-เหฺมา
ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง
เส-มา
รูปเครื่องหมายบอกเขตโบสถ์สำหรับภิกษุทำสังฆกรรม
เหลา
เห-ลา
ความหมั่น ความสนุก การเล่น การกีฬา ความสะดวกสบาย
เหฺลา
ทำให้เกลี้ยงเกลาหรือแหลมด้วยเครื่องมือมีด เป็นต้น
แหน
แหฺน
ชื่อพืชชนิดหนึ่ง
แหนฺ
หวง ล้อม รักษา เฝ้าระวัง

 คำพ้องเสียง  คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และมีความหมายต่างกัน
กัน


กัน กีด บัง ห้าม
กันต์ = โกน ตัด
กรรณ = หู
กัณฐ์ = คอ
กัลป์ = ระยะเวลาอันนานเหลือเกิน
กันย์ = ชื่อราศีที่6
กัณฑ์ = ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่งๆ




กาน


กาน = ตัด ราน
การ = กิจ ธุระ งาน
กาล = เวลา
กานท์ = บทกลอน
กาฬ = ดำ
กานต์ = เป็นที่รัก
การณ์ = เหตุ
กาญจน์ = ทอง


กุด


กุด = บึง ลำน้ำ ด้วน เหี้ยน
กุฏิ = เรือนสำหรับพระภิกษุเณร
กุฎ = ยอด


เกด
เกด = ชื่อ ต้นไม้ ,ปลาน้ำจืด,ลูกองุ่น
เกตุ = ชื่อดาว ธง
เกศ = ผม
โกด


โกฎิ = ชื่อมาตราวัดเท่ากับ 10 ล้าน
โกฐ = ชื่อเครื่องยาไทย
โกศ = ที่ใส่กระดูกผี ที่ใส่ศพ ดอกไม้ตูม
โกษ = ที่ใส่กระดูกผี โลก
โกศ = ผอบ


กะเสียน
เกษียณ = สิ้นไป
เกษียน = ข้อความที่เขียนไว้ในใบลาน ข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคำสั่งหรือหนังสือราชการ
เกษียร = น้ำนม
เกียด
เกียด = กัน กั้น เสาที่ปักไว้กลางลาน สำหรับผูกควายในการนาดข้าว
เกียจ = คด ไม่ซื่อ โกง คร้าน
เกียรติ = ชื่อเสียง ความมีหน้ามีตา


ขัน
ขัน = ภาชนะสำหรับตักน้ำ ทำให้ตึงโดยวิธีหมุน แข็งแรง หัวเราะ การร้องของไก่หรือนก
ขัณฑ์ = ภาค ตอน ส่วน ท่อน ชิ้น
ขันธ์ = ตัว หมู่ กอง พวก หมวด
ขรรค์ = ศัสตราวุธชนิดหนึ่งมีคม 2 ข้าง
คัน


คัน = แนวดินหรือทรายที่พูนสูงขึ้น ชื่อต้นไม้ อาการที่อยากเกา
คันถ์ = คัมภีร์
คันธ์ = กลิ่นหอม
ครรภ์ = ท้อง


จัน


จัน = ชื่อตันไม้
จันท์ = ดวงเดือน
จันทน์ = ชื่อต้นไม้
จันทร์ = ดวงเดือน ชื่อเทวดา ชื่อวันที่ แห่งสัปดาห์
จัณฑ์ = ดุร้าย หยาบช้า สุราหรือเมรัย


โจด


โจท = คำถามในวิชาคณิตศาสตร์
โจทย์ = คำถามในวิชาคณิตศาสตร์
โจทก์ = ผู้กล่าวหา ผู้ฟ้องความในศาล
โจษ = พูดกันแซ็งแซ่ เล่าลือกันอิ้ออึง


ฉัด
ฉัด = เตะ
ฉัฐ = ที่6
ฉัตร = เครื่องสูงชนิดหนึ่ง
ทัน


ทัน = ต้นพุทรา
ทันต์ = ฟัน งาช้าง ข่มแล้ว
ทันธ์ = ช้าๆ เขลา เกียจคร้าน
ทัณฑ์ = โทษที่เนื่องด้วยความผิด


นาด


นาด = ทอดแขนให้อ่อนงาม
นาฎ = นางละครนางฟ้อนรำ
นาถ = ที่พึ่ง ผู้เป็นที่พึ่ง
นาท = ความบันลือ เสียงร้อง
นาศ = ความเสื่อม การทำลาย



บาด


บาด = ทำให้เกิดเป็นแผล
บาตร = ภาชนะรับอาหารของพระภิกษุสามเณร
บาต = ตก ตกไป
บาท = ตีน เงิน ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์
บาศ = บ่วง
บาศก์ = ลูกเต๋า ลูกสกา


พัด


พัด = เครื่องโบก โบกหมุน
พัช = ดอก
พัฒน์ = ความเจริญ
พัตร = ผ้า
พัทธ์ = ผูก ติด เนื่อง
พัสตร์ = ผ้า
พรรษ = ฝน
ภัต ภัตร = อาหาร ข้าว
ภัทร = ดี เจริญ ประเสริฐ


ประสบ
ประสบ = พบ พบปะ พบเห็น
ประสพ = การเกิดผล
พัน


พัน = จำนวน 10 ร้อย หัวหน้าทหาร วงรอบที่เป็นเส้นสาย
พันธ์ = ผูก มัด ตรึง
พันธุ์ = พวกพ้อง พี่น้อง วงศ์วาน
พรรณ = สีของผิว ชนิด
ภัณฑ์ = สิ่งของ เครื่องใช้


สัน


สัน = สิ่งที่มีลักษณะนูนสูง ปีวอก
สรรค์ = สร้างให้มีให้เป็นขึ้น
สรร = เลือก คัด
สัณฑ์ = ป่าดง เกลี้ยง นุ่มนวล
สันต์ = เงียบ สงบ สงัด
ศัล = เปลือกไม้
ศัลย = ลูกศร
ษัณ = หก


รัด


รัด = โอบรอบหรือ รวบให้กระชับ
รัต = ยินดี ชอบใจ ราตรี กลางคืน
รัตน์ = แก้ว
รัถ = รถ
รัช = ธุลี ฝุ่น ผง ความเป็นราชา
รัชต์ = เงิน
รัฐ = แว่นแคว้น บ้านเมือง


คำพ้องทั้งรูปและเสียง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำหลายความหมาย ซึ่งหมายถึง คำที่มีรูปเหมือนกัน อ่านออกเสียงอย่างเดียวกัน แต่มีความหมายหลายอย่างแล้วแต่จะนำไปใช้
ตัวอย่าง   คำพ้องทั้งรูปและเสียง
คำว่า "ขัน" อ่านว่า ขัน หมายถึง
๑. ภาชนะสำหรับตักหรือใส่น้ำ
๒. ทำให้ตึงหรือเเน่นด้วยวิธีหมุนเข้าใป เช่น ขันนอต
๓. อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่
๔. หัวเราะ รู้สึกตลก
คำว่า "แกะ" อ่านว่า แกะ หมายถึง
๑. ชื่อสัตว์ ๔ เท้า ประเภทหนึ่ง
๒. เอาเล็บมือค่อยๆ แกะ เพื่อให้หลุดออก
คำว่า "เงาะ" อ่านว่า "เงาะ" หมายถึง
๑. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก
๒. ชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง      
                                                                มาดูวิดีโอเพิ่มความเข้าใจกันนะคะ