วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำพ้องรูปและคำพ้องเสียง

คำพ้องรูปและคำพ้องเสียง
คำพ้อง คือ คำที่เขียนรูปหรือออกเสียงตรงกัน แต่ความหมายต่างกัน  คำพ้อง แบ่งเป็น ๓ ชนิด ดังนี้คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนรูปเดียวกัน แต่มีการสะกดและออกเสียงที่ต่างกัน ซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปอ่านผิดอยู่เสมอๆ และความหมายก็ต่างกันด้วย
คำพ้องรูป
คำอ่าน
ความหมาย
กรี
กฺรี
กระดูกแหลมที่หัวกุ้ง
กะ-รี
ช้าง
กรอด
กฺรอด
เซียวลง ผอม
กะ-หฺรอด
ชื่อนกขนาดเล็ก
เขมา
เข-มา
เกษม สบายใจ ความพ้นภัย
ขะ-เหฺมา
ชื่อโกฐชนิดหนึ่งใช้เป็นเครื่องยาไทยดำ
แขม
แขมฺ
ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง
ขะ-แม
คนเขมร
ครุ
คฺรุ
ภาชนะสานชนิดหนึ่ง ใช้ตักน้ำ รูปกลมๆยาชัน
คะ-รุ
ครูหนัก
ตนุ
ตะ-นุ
ตัว ตนฉัน ข้าพเจ้า
ตะ-หนุ
ชื่อเต่าทะเลชนิดหนึ่ง
ตรุ
ตฺรุ
ที่ขังคน ตะราง เรือนจำนักโทษ คุก
ตะ-รุ
ต้นไม้
ทิว
ทิว
แถวหรือแนวแห่งสิ่งที่ติดเนื่องกันไปยาวยืดธงรูปกระบอก
ทิ-วะ
วัน สวรรค์ ชั้นฟ้า เทวโลก
เทว
เท-วะ
เทวดา
ทะ-เว
สอง
ปถวี
ปะ-ถะ-วี
ดิน
ปะ-ถะ-หฺวี
ท้ายเรือพิธี
ปรัก
ปฺรัก
เงิน
ปะ-หรัก
หัก
ปรามาส
ปฺรา-มาด
ดูถูก
ปะ-รา-มาด
การจับต้อง การลูบคลำ
ปละ
ปะ-ละ
ชื่อมาตราน้ำหนักมคธ 100 ปละเป็น ตุลา
ปฺละ
ปล่อย ละทิ้ง ละเลย
ปักเป้า
ปัก-กะ-เป้า
ชื่อปลาอย่างหนึ่ง
ปัก-เป้า
ชื่อว่าวชนิดหนึ่งมีหางยาว
ปาน
ปานฺ
ผิวเนื้อที่เป็นสีแดงหรือดำที่เกิดเป็นเองตามร่างกายแต่กำเนิด
ปา-นะ
เครื่องดื่ม น้ำสำหรับดื่ม
ผิว
ผิ-วะ
ถ้าว่า หากว่า แม้นว่า
ผิว
ส่วนที่มีลักษณะบางๆ เป็นพื้นหุ้มอยู่ภายนอกสุดของหนังและเปลือก
พยาธิ
พะ-ยา-ทิ
ความเจ็บไข้
พะ-ยาด
ตัวเชื้อโรคจำพวกหนึ่งที่เกิดในกายชื่อโรคอย่างหนึ่งเกิดที่ผิวหนัง
พลี
พะ-ลี
การบวงสรวง เครื่องบวงสรวง ส่วย การบูชา เสียสละมีกำลัง
พฺลี
บวงสรวงเชิญเอามา
เพลา
เพ-ลา
กาล คราว
เพฺลา
แกนสำหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียนไม้สำหรับขึงใบเรือ
มน
มนฺ
กลมๆ โค้งๆ ไม่เป็นเหลี่ยม
มะ-นะ
ใจ
วน
วนฺ
ไปโดยรอบเข้าหาศูนย์กลาง
วะ-นะ
ป่าไม้ ดง
สก
สกฺ
ผมสะเด็ดน้ำ
สะ-กะ
ของตน
สระ
สะ
แอ่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเองหรือคนขุดชำระ ฟอก
สะ-หฺระ
เสียง เสียงก้องซึ่งออกเสียงได้นานตัวอักษรจำพวกหนึ่งเป็นคนละพวกกับพยัญชนะ
สาน
สานฺ
ทำสิ่ง เช่น เสื่อ ตะกร้า ด้วยมือ โดยวิธีใช้เส้นตอกหรือสิ่งอื่นขัดไขว้กัน
สา-นะ
หมา
สุก
สุกฺ
พ้นจากห่ามปลั่งนกแก้ว นกแขกเต้า
สุก-กะ
ขาว สว่าง สะอาด ดี
เสมา
สะ-เหฺมา
ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง
เส-มา
รูปเครื่องหมายบอกเขตโบสถ์สำหรับภิกษุทำสังฆกรรม
เหลา
เห-ลา
ความหมั่น ความสนุก การเล่น การกีฬา ความสะดวกสบาย
เหฺลา
ทำให้เกลี้ยงเกลาหรือแหลมด้วยเครื่องมือมีด เป็นต้น
แหน
แหฺน
ชื่อพืชชนิดหนึ่ง
แหนฺ
หวง ล้อม รักษา เฝ้าระวัง

 คำพ้องเสียง  คือ คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และมีความหมายต่างกัน
กัน


กัน กีด บัง ห้าม
กันต์ = โกน ตัด
กรรณ = หู
กัณฐ์ = คอ
กัลป์ = ระยะเวลาอันนานเหลือเกิน
กันย์ = ชื่อราศีที่6
กัณฑ์ = ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่งๆ




กาน


กาน = ตัด ราน
การ = กิจ ธุระ งาน
กาล = เวลา
กานท์ = บทกลอน
กาฬ = ดำ
กานต์ = เป็นที่รัก
การณ์ = เหตุ
กาญจน์ = ทอง


กุด


กุด = บึง ลำน้ำ ด้วน เหี้ยน
กุฏิ = เรือนสำหรับพระภิกษุเณร
กุฎ = ยอด


เกด
เกด = ชื่อ ต้นไม้ ,ปลาน้ำจืด,ลูกองุ่น
เกตุ = ชื่อดาว ธง
เกศ = ผม
โกด


โกฎิ = ชื่อมาตราวัดเท่ากับ 10 ล้าน
โกฐ = ชื่อเครื่องยาไทย
โกศ = ที่ใส่กระดูกผี ที่ใส่ศพ ดอกไม้ตูม
โกษ = ที่ใส่กระดูกผี โลก
โกศ = ผอบ


กะเสียน
เกษียณ = สิ้นไป
เกษียน = ข้อความที่เขียนไว้ในใบลาน ข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคำสั่งหรือหนังสือราชการ
เกษียร = น้ำนม
เกียด
เกียด = กัน กั้น เสาที่ปักไว้กลางลาน สำหรับผูกควายในการนาดข้าว
เกียจ = คด ไม่ซื่อ โกง คร้าน
เกียรติ = ชื่อเสียง ความมีหน้ามีตา


ขัน
ขัน = ภาชนะสำหรับตักน้ำ ทำให้ตึงโดยวิธีหมุน แข็งแรง หัวเราะ การร้องของไก่หรือนก
ขัณฑ์ = ภาค ตอน ส่วน ท่อน ชิ้น
ขันธ์ = ตัว หมู่ กอง พวก หมวด
ขรรค์ = ศัสตราวุธชนิดหนึ่งมีคม 2 ข้าง
คัน


คัน = แนวดินหรือทรายที่พูนสูงขึ้น ชื่อต้นไม้ อาการที่อยากเกา
คันถ์ = คัมภีร์
คันธ์ = กลิ่นหอม
ครรภ์ = ท้อง


จัน


จัน = ชื่อตันไม้
จันท์ = ดวงเดือน
จันทน์ = ชื่อต้นไม้
จันทร์ = ดวงเดือน ชื่อเทวดา ชื่อวันที่ แห่งสัปดาห์
จัณฑ์ = ดุร้าย หยาบช้า สุราหรือเมรัย


โจด


โจท = คำถามในวิชาคณิตศาสตร์
โจทย์ = คำถามในวิชาคณิตศาสตร์
โจทก์ = ผู้กล่าวหา ผู้ฟ้องความในศาล
โจษ = พูดกันแซ็งแซ่ เล่าลือกันอิ้ออึง


ฉัด
ฉัด = เตะ
ฉัฐ = ที่6
ฉัตร = เครื่องสูงชนิดหนึ่ง
ทัน


ทัน = ต้นพุทรา
ทันต์ = ฟัน งาช้าง ข่มแล้ว
ทันธ์ = ช้าๆ เขลา เกียจคร้าน
ทัณฑ์ = โทษที่เนื่องด้วยความผิด


นาด


นาด = ทอดแขนให้อ่อนงาม
นาฎ = นางละครนางฟ้อนรำ
นาถ = ที่พึ่ง ผู้เป็นที่พึ่ง
นาท = ความบันลือ เสียงร้อง
นาศ = ความเสื่อม การทำลาย



บาด


บาด = ทำให้เกิดเป็นแผล
บาตร = ภาชนะรับอาหารของพระภิกษุสามเณร
บาต = ตก ตกไป
บาท = ตีน เงิน ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์
บาศ = บ่วง
บาศก์ = ลูกเต๋า ลูกสกา


พัด


พัด = เครื่องโบก โบกหมุน
พัช = ดอก
พัฒน์ = ความเจริญ
พัตร = ผ้า
พัทธ์ = ผูก ติด เนื่อง
พัสตร์ = ผ้า
พรรษ = ฝน
ภัต ภัตร = อาหาร ข้าว
ภัทร = ดี เจริญ ประเสริฐ


ประสบ
ประสบ = พบ พบปะ พบเห็น
ประสพ = การเกิดผล
พัน


พัน = จำนวน 10 ร้อย หัวหน้าทหาร วงรอบที่เป็นเส้นสาย
พันธ์ = ผูก มัด ตรึง
พันธุ์ = พวกพ้อง พี่น้อง วงศ์วาน
พรรณ = สีของผิว ชนิด
ภัณฑ์ = สิ่งของ เครื่องใช้


สัน


สัน = สิ่งที่มีลักษณะนูนสูง ปีวอก
สรรค์ = สร้างให้มีให้เป็นขึ้น
สรร = เลือก คัด
สัณฑ์ = ป่าดง เกลี้ยง นุ่มนวล
สันต์ = เงียบ สงบ สงัด
ศัล = เปลือกไม้
ศัลย = ลูกศร
ษัณ = หก


รัด


รัด = โอบรอบหรือ รวบให้กระชับ
รัต = ยินดี ชอบใจ ราตรี กลางคืน
รัตน์ = แก้ว
รัถ = รถ
รัช = ธุลี ฝุ่น ผง ความเป็นราชา
รัชต์ = เงิน
รัฐ = แว่นแคว้น บ้านเมือง


คำพ้องทั้งรูปและเสียง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คำหลายความหมาย ซึ่งหมายถึง คำที่มีรูปเหมือนกัน อ่านออกเสียงอย่างเดียวกัน แต่มีความหมายหลายอย่างแล้วแต่จะนำไปใช้
ตัวอย่าง   คำพ้องทั้งรูปและเสียง
คำว่า "ขัน" อ่านว่า ขัน หมายถึง
๑. ภาชนะสำหรับตักหรือใส่น้ำ
๒. ทำให้ตึงหรือเเน่นด้วยวิธีหมุนเข้าใป เช่น ขันนอต
๓. อาการร้องเป็นเสียงอย่างหนึ่งของไก่
๔. หัวเราะ รู้สึกตลก
คำว่า "แกะ" อ่านว่า แกะ หมายถึง
๑. ชื่อสัตว์ ๔ เท้า ประเภทหนึ่ง
๒. เอาเล็บมือค่อยๆ แกะ เพื่อให้หลุดออก
คำว่า "เงาะ" อ่านว่า "เงาะ" หมายถึง
๑. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก
๒. ชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง      
                                                                มาดูวิดีโอเพิ่มความเข้าใจกันนะคะ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น