วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์

ความหมาย
            ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์  ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ได้แก่  พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์  พระภิกษุ  ขุนนางข้าราชการ และสุภาพชน

ที่มาของราชาศัพท์
            .รับมาจากภาษาอื่น
                        ภาษาเขมร เช่น เสวย  เขนย เสด็จ โปรด ฯลฯ
                        ภาษาบาลี สันสกฤต  เช่นเนตร หัตถ์ โอรส อาพาธ  ฯลฯ
            .การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ตั้งเครื่อง ลูกหลวง
ซับพระพักตร์  ฯลฯ
วิธีใช้ราชาศัพท์ที่ควรสังเกต
            .การใช้ ทรง” มีหลัก ๓ ประการ
                        .๑นำหน้าคำกริยาสามัญทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น
ทรงเจิม  ทรงออกกำลังกาย ทรงใช้ ทรงวิ่ง เป็นต้น
                        .๒นำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่น
ทรงดนตรี  ทรงช้าง ทรงเครื่อง  ทรงรถ เป็นต้น
                        .๓นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้  เช่น
ทรงพระอักษร  ทรงพระดำเนิน ทรงพระราชนิพนธ์  ทรงพระราชดำริ เป็นต้น
            คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ ทรง” นำหน้า เช่น เสด็จ เสวย โปรด  เป็นต้น
            .การใช้คำ พระบรม”   “พระราช”  “พระ
                        .๑ คำ พระบรมใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราชานุเคราะห์ พระปรมาภิไธย พระบรมราโชวาท ฯลฯ
                        .๒ พระราช” ใช้นำหน้าคำนาม แสดงว่าคำนามนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์  สมเด็จพระบรมราชินี  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  เช่นพระราชานุญาต พระราชวโรกาส พระราชประวัติ  ฯลฯ
                        .๓ คำ พระ” ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นอวัยวะ ของใช้ เช่น
พระนลาฏ  พระชานุ  พระขนง  ฯลฯ
            .การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย ไม่นิยมเลียนแบบสำนวนต่างประเทศ ได้แก่
                        .๑ถ้ามาต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้ว่า ประชาชนมาเฝ้า ฯ รับเสด็จ   คำว่าเฝ้าฯรับเสด็จ” ย่อมาจากเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จไม่ใช้คำว่าถวายการต้อนรับ
                        .๒คำว่าคนไทยมีความจงรักภักดี” หรือแสดงความจงรักภักดี” ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช่คำว่า ถวายความจงรักภักดี
            .การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล
                        .๑คำว่า อาคันตุกะ” “ราชอาคันตุกะ” และพระราชอาคันตุกะ” ใช้ดังนี้ คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ     เช่นแขกของพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า
ราชนำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ต้องมีราชนำหน้า
                        .๒ในการถวายสิ่งของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                    ถ้าเป็นของเล็กยกได้ก็ใช้ ทูลเกล้าฯ ถวาย
                                    ถ้าเป็นของใหญ่ยกไม่ได้ใช้ น้อมเกล้า ฯ ถวาย

                                                          มาดูวิดีโอเพิ่มเติมกันนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น